วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จิตใต้สำนึกคืออะไร?...สำคัญอะไรกันนักหนา?





                                        
                                                       
 จิตใต้สำนึกคืออะไร?
ตามทฤษฎี ของซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาคนดังของโลก กล่าวไว้ว่า ในการดำเนินชีวิตเราใช้จิตแบ่งออกเป็น 2ส่วน  คือ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ซึ่งทุกวันนี้คนเราส่วนใหญ่ใช้จิตสำนึกเพียงร้อยละ อีกที่เหลือ ร้อยละ 93 เป็นจิตใต้สำนึกดังภาพที่เราใช้รูปภาพภูเขาน้ำแข็งนี้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนให้เห็นชัดเจน



   1. จิตสำนึกก็คือ ( conciousness  )  เป็นส่วนที่ตัวเราและผู้อื่นมองเห็น และเป็นส่วนที่สามารถพัฒนาได้ง่าย ได้แก่ความรู้ ทักษะต่าง ๆ  รวมถึงการกระทำ คำพูด พฤติกรรมบางอย่าง รูปแบบในการดำเนินชีวิต  ซึ่งเราสามารถควบคุม หรือ บังคับตัวเองให้แสดงออกในรูปแบบที่เราต้องการ โดยเลือกที่จะทำหรือไม่ทำได้ก็ได้ เพราะอยู่ในการควบคุมของคุณทั้งหมด และนี่คือการทำงานของ จิตสำนึก

2.ส่วนจิตใต้สำนึกเรียกว่า ( sub conciousness เป็นส่วนที่ใหญ่กว่า มีอิทธิพลต่อชีวิตมากกว่าจิตสำนึก และ ค่อนข้างยากในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่เคยถูกฝังลึกลงไปแล้วในจิตส่วนนี้
 จิตใต้สำนึกของคนเรามีหน้าที่ คือ เป็นส่วนที่จดจำ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ประสบการณ์ต่างๆในชีวิตของคนเรา ทั้งที่เป็นภาพ เหตุการณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ ทัศนะคติ มีทั้งที่เราจำได้และจำไม่ได้  ในสภาวะที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว แล้วสิ่งต่างๆเหล่านั้นก็ถูกแสดงออกมาเป็น อุปนิสัยใจคอ  การกระทำ พฤติกรรมต่างๆของเรา  รวมถึงมุมมอง กรอบในการมองโลก การตีความ การตัดสินใจ ความเชื่อว่าทำได้ หรือ ทำไม่ได้, สำเร็จ หรือ ไม่สำเร็จชอบ หรือ ไม่ชอบรัก หรือ เกลียดในบางสิ่งบางอย่างหรือบางคน โดยที่เราก็ไม่สามารถบังคับ ควบคุม พฤติกรรม หรือ ความคิด ความรู้สึกเหล่านั้นได้เลย เพราะมันทำงานเป็นอัตโนมัติ เช่น อาการประหม่าเมื่อขึ้นเวที   การรักใครบางคนทั้งๆที่รู้ว่าเขาใจร้าย  การกินทั้งๆที่ไม่หิวแต่ไม่สามารถห้ามใจให้หยุดพฤติกรรมนั้นได้
    นอกจากนี้จิตใต้สำนึกเป็นตัวที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท ฮอร์โมน ระบบกล้ามเนื้อ สมองจิตประสาท และระบบอวัยวะภายในของคนเราอยู่ลึกๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว
ดังนั้นถ้าจิตใต้สำนึกของเราได้รับการบำบัดดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม หรือ อยู่ในสภาวะที่มีแต่ข้อมูลดีๆ ก็จะส่งผลให้อวัยวะภายในของเราก็ทำงานสงบเรียบร้อย เป็นปกติ มีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ
ในทางกลับกันถ้าหากจิตใต้สำนึกของเรารับรู้แต่ข้อมูลแย่ๆ ความเร่งรีบ เคร่งเครียด ผิดหวัง เศร้าโศกเสียใจ ซึ่งเป็นธรรมดาที่คนเราจะต้องมีสิ่งที่ไม่สมหวังในชีวิตบ้าง แต่ถ้าไม่รู้จักวิธีดูแล หรือ บริหารจัดการกับความเครียด กดดันเหล่านั้นออกไป ประสบการณ์และอารมณ์ด้านลบเหล่านี้จะถูกสะสมอยู่ในจิตใต้สำนึกและรบกวนการทำงานของอวัยวะภายในได้ อันจะส่งผลต่อสุขภาพมากมายตามมา เช่นผู้ที่เครียดจัด มักอาหารไม่ย่อย ปวดกระเพาะ ใจเต้นสั่น หอบเหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ อารมณ์แปร ปรวน น้ำตาลในเลือดสูงโรคอ้วน เบาหวาน หรือ มะเร็งตามส่วนต่างๆ เพราะที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่าความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้เฉพาะที่สมองเท่านั้น แต่ความทรงจำของคนเรามีสภาพเหมือนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสามารถสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามีวิธีผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล และ จัดการกับข้อมูลในด้านลบต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเองได้ดีเพียงพอ ก็เท่ากับเป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจสู่ดุลยภาพ เพื่อช่วยให้อวัยวะในร่างกายทำงานเข้าสู่ภาวะปกติ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีความสุขในการดำเนินชีวิต สุขภาพจิตใจที่ดียังช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆให้ดีขึ้นได้อย่างน่ามหัศจจรย์  เช่น อาการไมเกรน นอนไม่หลับ โรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล โรคอ้วน เบาหวาน ความดัน หรือ แม้กระทั้งโรคมะเร็ง  สรุปก็คือ “ จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นเอง

จากที่กล่าวมาแล้วนั้น สรุปก็คือ หากเราต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การกระทำ ความเชื่อหรือ ความคิดของตัวเราเพื่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านต่างๆของชีวิตเรา ไม่ว่าจะเป็น ความรัก  ความสัมพันธ์ ความสำเร็จ ความมั่งคั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์  เราก็ควรเริ่มต้นจากส่วนที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือ จิตใต้สำนึกนั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น